การรื้ออาคาร โดยเฉพาะอาคารที่มีขนาดใหญ่ ไม่ใช่คิดจะรื้อก็รื้อได้ในทันทีเพราะกฎหมายควบคุมอยู่ อีกทั้งต้องทำตามขึ้นตอนต่าง ๆ อย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อพื้นที่รอบข้าง และคนงานที่เข้ามารื้อถอน โดยขั้นตอนต่าง ๆ ก็มีดังนี้
การรื้ออาคาร ต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การรื้อถอนต้องพิจารณาทั้งตัวอาคาร และสภาพแวดล้อมรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นชุมชนขอบถนนสาธารณะ เพื่อใช้วางแผนในการรื้อโดยไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่รอบข้าง หรือมีผลกระทบให้น้อยที่สุด
ต้องมีการขออนุญาตตามกฎหมาย
หากต้องการรื้อถอนอาคารที่มีความสูงมากกว่า 15 เมตร และอยู่ห่างจากพื้นที่แวดล้อมทั้งที่ส่วนบุคคลและพื้นที่สาธารณะในระยะที่น้อยกว่าความสูงของอาคารจะต้องขออนุญาตก่อน แต่ถ้าไม่เข้าเกณฑ์สามารถทำการรื้อถอนได้เลย
หากเป็นบ้านเรือนทั่วไปที่ต้องการรื้อถอนหากมีระยะห่างจากบ้านเรือนหลังอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่า 2 เมตร ก็ต้องขออนุญาตเช่นกัน ในกรณีที่จะรื้อถอนถอนบ้านทาวน์เฮ้าส์หรือตึกแถวจะต้องทำการขออนุญาตทุกกรณี หากเพื่อนบ้านที่มีผนังติดกันไม่ยินยอมก็ไม่สามารถขออนุญาตได้
เอกสารสำหรับรื้อถอนอาคาร
- แบบแปลนบ้าน
- สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นขออนุญาต
- ใบยินยอมที่ดิน
- แผนผังโดยรอบ อาคาร
- สำเนาโฉนดที่ดินเท่าฉบับจริง
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพของสถาปนิก และวิศวกรผู้ออกแบบ
เมื่อยื่นคำขอแล้วจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 15 วัน หากได้รับอนุญาตผู้ขอต้องแสดงเอกสารชื่อควบคุมงานที่เข้ามาตรวจสอบรับผิดชอบในการรื้อถอนก่อสร้างไม่ให้ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
เตรียมพื้นที่สำหรับการรื้อถอน
หลงจากได้รับอนุญาตแล้วจะต้องเตรียมพื้นที่ เช่น การปิดกั้นรอบบริเวณรื้อถอนเพื่อป้องกันเศษวัสดุอิฐปูน ฝุ่นต่าง ๆ ร่วงหล่นออกไปนอกบริเวณจนทำให้ผู้อื่นเกิดอันตรายได้ รวมไปถึงการรื้อสายไฟก็ต้องระวังเพื่อความปลอดภัยต่อตัวคนงาน
รื้อส่วนที่เป็นน้ำหนักออกไปก่อน
ส่วนเป็นน้ำหนักก็อย่างเช่น สุขภัณฑ์ สายไฟในอาคาร อุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับโครงสร้างหลัก เพื่อให้ตัวอาคารแบกรับน้ำหนักมากจนเกินไปในระหว่างทำการรื้อถอน
การรื้ออาคาร โครงสร้างหลัก
โครงสร้างหลักของอาคารคือเสา และพื้นโดยจะเริ่มทุบพื้นแล้วทุบในส่วนของเสา ซึ่งจะรื้อจากด้านบนลงมาด้านล่างเพื่อป้องกันการถล่มของตัวอาคาร
การรื้ออาคาร ในแต่ละขั้นตอนนั้นควรดำเนินการผู้เชี่ยวชาญในการดูแลควบคุม เพราะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สามารถดำเนินการ หรือจัดการกับปัญหาที่มาจากการรื้อถอนได้ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องฝุ่นละอองหรือเสียงรบกวนที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างรื้อถอน